Over admiossion'61

Over admiossion



แห่หนุนใช้ "เคลียริ่งเฮ้าส์" ห่วงนร.ทิ้งห้องมุ่งกวดวิชา
อดีตเลขาฯ กกอ.ห่วงระบบเคลียริ่งเฮ้าส์
เข้ามหาลัย
ทำเด็กทิ้งห้องเรียน ทปอ. ขอดูองค์ประกอบ-รอชงที่ประชุม ต.ค.นี้
             
        จากกรณีที่ประชุมร่วมระหว่างที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) มี พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการ ศธ. เป็นประธาน มีข้อสรุปให้ยกเลิกระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา ในระบบกลางการรับนิสิตนักศึกษา หรือแอดมิสชั่นส์ ในปี 2561 และให้ปรับมาใช้ระบบการรับตรงกลางร่วมกัน จะมีการจัดสอบเพื่อนำคะแนนไปใช้ในการเข้าเรียนในสถาบันอุดมศึกษา หลังนักเรียนเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ช่วงประมาณกลางเดือนมีนาคม หลังจากนั้นจะเปิดสอบวิชาความถนัดทั่วไป (GAT) การสอบวิชาความถนัดทางวิชาการ/วิชาชีพ (PAT) และการสอบวิชาสามัญ 9 วิชา ซึ่งเป็นวิชาที่ใช้ในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย หลังจากทราบคะแนนแล้วจะเปิดรับสมัครเลือกสาขาวิชาและมหาวิทยาลัยที่ต้องการเข้าเรียนได้ 4 อันดับ เมื่อเด็กเลือกแล้ว มหาวิทยาลัยจะคัดเลือกเด็กตามลำดับคะแนน และแจ้งผลการคัดเลือกกลับมาที่ส่วนกลางเพื่อเข้าสู่ระบบเคลียริ่งเฮ้าส์

        เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยเปิดรับนิสิตนักศึกษาเข้าเรียนผ่านระบบเคลียริ่งเฮ้าส์ของสมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (สอท.) กว่า 4 แสนคน แต่เข้าเรียนผ่านระบบแอดมิสชั่นส์ เพียง 1 แสนคน ดังนั้น จึงหารือเพื่อปรับปรุงระบบการรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา ภายใต้กติกาว่าเด็กไม่ต้องวิ่งรอกสอบ ไม่เสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก ซึ่งระบบการสอบรับตรงกลางร่วมกันจะช่วยแก้ปัญหาการสอบในอนาคต โดยจะจัดในช่วงเวลาเดียวกัน หลังนักเรียนเรียนจบชั้น ม.6 แล้ว มีสนามสอบกระจายทั่วประเทศ จัดสอบโดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) อีกทั้ง มหาวิทยาลัยจะต้องเปิดเผยข้อมูลและองค์ประกอบที่ใช้ในการรับเข้าเรียน และจำนวนที่เปิดรับ ทั้งระบบโควต้าและระบบอื่นๆ ด้วย ซึ่งวิธีนี้อาจจะคล้ายกับระบบเอ็นทรานซ์เดิม แตกต่างกันตรงที่เด็กจะรู้คะแนนล่วงหน้า และเลือกสมัครเรียนในคณะ/สาขา ที่คะแนนสามารถเข้าเรียนได้ และเด็กจะถูกคัดเลือกโดยมหาวิทยาลัยอีกรอบหนึ่ง และมหาวิทยาลัยจะส่งชื่อเข้าระบบเคลียริ่งเฮ้าส์ เพื่อแจ้งผลการคัดเลือกไปยังเด็ก และคนที่ติดหลายแห่ง จะต้องเลือกว่าจะเข้าเรียนที่ไหน ส่วนที่นั่งที่เหลือในมหาวิทยาลัยต่างๆ จะเปิดรับสมัครเด็กเข้าเรียนเพื่อเข้าสู่ระบบเคลียริ่งเฮ้าส์รอบ 2 เท่ากับว่าเด็กจะมีโอกาส 2 ครั้ง และเลือกสมัครเข้าเรียนได้ถึง 8 อันดับ

        “ระบบเคลียริ่งเฮ้าส์นี้ เด็กแทบไม่ต้องวิ่งรอกเลย เพราะการสมัครและยื่นคะแนนจะดำเนินการผ่านระบบออนไลน์ มีสนามสอบทั่วประเทศ ส่วนเรื่องค่าใช้จ่ายที่เด็กต้องเสีย ยังไม่ได้หารือ แต่เท่าที่ดูคิดว่าเด็กจะเสียค่าใช้จ่ายเพียง 2 ส่วน คือ ค่าสมัครสอบในแต่ละวิชา กับค่าเคลียริ่งเฮ้าส์” นพ.กำจรกล่าว

        นายภาวิช ทองโรจน์ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาและอดีตประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) กล่าวว่า ระบบเคลียริ่งเฮ้าส์ 2 รอบที่เสนอ เหมือนระบบของ UCAS ของอังกฤษ แต่ต่างกันที่ของใช้ผลการเรียนทั้งหมด ไม่มีการสอบใหม่ ส่วนระบบการสอบเอาคะแนนไว้ก่อนแล้วมาเลือกที่เรียนทีหลัง ก็เหมือนระบบที่ประเทศไทยเคยใช้เมื่อประมาณปี 2540 แต่ช่วงนั้นให้เลือกได้ครั้งเดียว ถ้าให้เลือกได้ 2 ครั้งแบบที่เสนอก็จะดีขึ้น แต่ข้อเสียของระบบที่เสนอนี้ คือถ้าไม่เอาผลการเรียนเข้ามาเป็นองค์ประกอบด้วย เด็กจะไม่สนใจห้องเรียน โดยจะทิ้งการเรียนเหมือนเดิม การกวดวิชา 9 วิชา กับ GAT และ PAT จะยิ่งเข้มข้นยิ่งขึ้น โรงเรียนกวดวิชายิ้มแน่นอน และข้อหาที่ว่าระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัยทำลายการศึกษาขั้นพื้นฐาน ก็ยังไม่ได้รับการแก้ไข ซ้ำร้ายอาจรุนแรงกว่าเดิม ที่ดีขึ้นมาหน่อยตามที่คิดจะแก้ไขนี้ คือลดการวิ่งรอกสอบของเด็กเท่านั้นเอง

        นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และรองประธาน ทปอ.กล่าวว่า โดยหลักการแล้ว ทปอ.เห็นด้วยที่ควรจะใช้ข้อสอบเดียวในการคัดเลือกนักศึกษาเข้าเรียนในสถาบันอุดมศึกษา แต่ต้องขอดูรายละเอียดต่างๆ ของระบบใหม่ที่เสนอมาก่อน ซึ่งยังมีหลายประเด็นที่ต้องพิจารณาให้รอบคอบ ทั้งองค์ประกอบที่จะใช้ในการรับเข้าเรียน ยังคงมีคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร (GPAX) อยู่หรือไม่ หรือจะใช้ข้อสอบ GAT ข้อสอบ PAT และข้อสอบวิชาสามัญ 9 วิชาเท่านั้น ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาเด็กทิ้งห้องเรียน มุ่งกวดวิชาอีก รวมถึงยังต้องมาดูปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงน้อยด้วย เพราะอาจส่งผลกระทบให้มหาวิทยาลัยเหล่านี้รับนักศึกษาได้น้อยลง โดย ทปอ.จะนำเรื่องดังกล่าวเข้าหารือในที่ประชุม ทปอ.เดือนตุลาคมนี้

        นายรัฐกรณ์ คิดการ ประธานสภาคณาจารย์และข้าราชการ มหาวิทยาลัยราชภัฏ(มรภ.) นครราชสีมา และประธานที่ประชุมสภาคณาจารย์และข้าราชการแห่งประเทศไทย (ทปสท.) กล่าวว่า ทปสท.เห็นด้วยกับระบบดังกล่าว และคิดว่าจะเป็นประโยชน์มากกว่าระบบคัดเลือกแบบเดิม ซึ่งทุกวันนี้ มหาวิทยาลัยเปิดรับตรงจำนวนมาก เด็กต้องเตรียมตัว เพื่อสอบรับตรงตั้งแต่ชั้น ม.5 ทำให้เป็นภาระ เพราะเด็กต้องวิ่งรอกสอบ และเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก ทั้งนี้ ในส่วน มรภ.เอง หากรับนักศึกษาผ่านระบบเคลียริ่งเฮ้าส์ คงไม่กระทบมากนัก เพราะปัจจุบันก็รับภายหลังมหาวิทยาลัยรัฐอยู่แล้ว อีกทั้ง มรภ.เองคงต้องปรับตัว เพิ่มคุณภาพ เน้นจัดการเรียนการสอนในสาขาที่ถนัด และมีความเชี่ยวชาญมากขึ้น เพื่อให้เด็กเลือกสมัครเข้าเรียน

        น.ส.พีรญา ภูศรีศชไกร นักเรียนชั้น ม.6 โรงเรียนนครสวรรค์ ในฐานะประธานสภานักเรียนระดับประเทศ 2559 กล่าวว่า ทราบเรื่องที่ ศธ.มีแนวคิดเรื่องปรับวิธีการรับนักศึกษาเข้าเรียนในสถาบันอุดมศึกษา ในปีการศึกษา 2561 โดยใช้ระบบเคลียริ่งเฮ้าส์ ส่วนตัวมองว่ามีข้อดีมากกว่าข้อเสียหากใช้ระบบใหม่ เพราะจะลดปัญหาเรื่องวิ่งรอกสอบของนักเรียนชั้น ม.6 และลดเรื่องค่าใช้จ่ายด้วย อีกทั้งจะส่งผลให้นักเรียนมีเวลาเรียนในโรงเรียนมากขึ้น อย่างไรก็ตาม จากที่หารือกับนักเรียนในกลุ่มเครือข่าย ทุกคนยังกังวลว่าการรับนักศึกษาในระบบใหม่อาจเกิดปัญหาเรื่องมาตรฐานการสอบและเรื่องเฉลยข้อสอบ เพราะมีนักเรียนรุ่นพี่เคยประสบปัญหานี้มาก่อน

        นางมณี (สงวนนามสกุล) ผู้ปกครองนักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยรัฐแห่งหนึ่ง กล่าวว่า ส่วนตัวมองว่าระบบการคัดเลือกรูปแบบใหม่ที่จะนำมาใช้แทนระบบแอดมิสชั่นส์ไม่ต่างจากเดิมเท่าไร เพราะสอบแล้วเลือกคะแนนที่ดีที่สุดเหมือนกัน ซึ่งถ้าแก้ไขปัญหาเรื่องรับตรงที่ปัจจุบันรับตรงกันมากมายได้ ก็เห็นด้วยที่จะให้ใช้รูปแบบใหม่ ส่วนตัวอยากให้จำกัดการรับตรงองมหาวิทยาลัยต่างๆ ยกเว้นมหาวิทยาลัยภูมิภาค เพราะทำให้เด็กมีค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการตระเวนสอบและสุดท้ายเกิดความเหลื่อมล้ำ เพราะเด็กทุนหนามีโอกาสสอบมากกว่าเด็กทุนน้อย

      ว้าวววๆๆๆ มีข่าวออกมาอัพเดตแบบนี้ หวั่นไหวกันไปตามๆกันนะคะน้องๆ แต่เหนือสิ่งอื่นใดคือ น้องๆอย่าได้ท้อถอย และคิดไปอื่นไกล เตรียมตัวให้พร้อมกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต แต่ความเป็นไปได้ก็มีสูงนะคะ อย่า! ชะล่าใจไปนะคะ เพราะหากเรา "พัฒนาตนเอง และใฝ่รู้ใฝ่เรียนอยู่เสมอ"... มาตรการ/ระบบไหนก็ทำอะไรเราไม่ได้แน่นอนค่าาา เหล่า Dek'60 รอดตัวไป Dek'61 เตรียมตัวให้พร้อมกันนะค๊าาาาา...
 
ข้อมูลจาก : มติชนออนไลน์ วันที่ 27 ส.ค. 59 เวลา 10:26 น.
รายงานโดย : พี่ปั้นจั่น ALIST 

แน่นอนว่าทางเอลิสท์ก็มีโครงการดีๆ มาแนะนำน้องๆ นั่นก็คือ ค่ายวิชาการ ALIST OCTOBER CAMP 2016 ที่สุดของค่ายติว ที่สุดของทีมวิทยากร ค่ายที่น้องๆ ม.5-6 ไม่ควรพลาด!! โค้งสุดท้ายก่อนสอบจริง!! ติวครบ GAT- PAT- QUOTA 

     ♢เน้นตะลุยโจทย์ข้อสอบจริง 10 พ.ศ. ล่าสุด (มข./ม.อ.)
     ♢จำลองสนามสอบจริง(Simulation Test) ครบทั้ง 9 วิชาหลัก
     ♢ติวสด กับติวเตอร์ชื่อดัง การันตีจาก 4 เวทีใหญ่ระดับประเทศ
     ♢แตกต่าง ด้วยระบบ A-Genius สอบไม่ติด ยินดีคืนเงิน 100% เต็ม!
     ♢ฟรี! ข้อสอบเก่า พร้อมทั้งวิเคราะห์ สถิติ-แนวโน้มข้อสอบ ครบทุกวิชา ครบทุกสนามสอบ
     ♢ฟรี! หนังสือประกอบการเรียน/เสื้อและกระเป๋าค่าย สุดเก๋ ทุกที่นั่ง
     ♢ฟรี! ค่ากิจกรรมค่ายและการดูแลจากพี่ๆ Staff ตลอดหลักสูตร
     
ใกล้ที่ไหน Check in ที่นั่น 3-27 ต.ค. นี้
จองด่วน!! ภายใน 31 ส.ค. 59 นี้ รับส่วนลดทันที 2,000 บาท จากราคาปกติ สมัครได้ทางเว็บไซต์ www.alistacademy.net 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้