รู้จัก มมส

รู้จัก มมส



Mahasarakham University (MSU)
ก่อตั้ง: พ.ศ. 2537
ต้นไม้ประจำสถาบัน: ต้นราชพฤกษ์ (ต้นคูน)
สีประจำสถาบัน: สีเหลือง-เทา
จำนวนคณะ: 15 คณะ 1 วิทยาลัย 2 โครงการจัดตั้งคณะ
จำนวนนักศึกษา: ประมาณ 37,342 คน
อัตราค่าเล่าเรียน: หน่วยกิตละประมาณ 200-1,500 บาท
ที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์:
วิทยาเขตใหม่ 41/20 ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
โทร. 0 4375 4321-40
วิทยาเขตเก่า 269 ถนนนครสวรรค์ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
เว็บไซต์: www.msu.ac.th
 "คำขวัญ - ‘พหูนํ ปณฑิโต ชีเว' หมายความว่า ‘ผู้มีปัญญาพึงอยู่เพื่อมหาชน'"


             มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือกำเนิดมาจากการเป็น "วิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม" ซึ่งตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2511 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะขยายการศึกษาชั้นสูงไปสู่ต่างจังหวัด เริ่มแรกตั้งอยู่ที่ ถ.นครสวรรค์ ต.ตลาด อ.เมือง จ.มหาสารคาม บนเนื้อที่ 197 ไร่ และได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม" ในปี พ.ศ. 2517 จนกระทั่งเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2537 จึงได้แยกตัวเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศภายใต้ชื่อ "มหาวิทยาลัยมหาสารคาม" โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธย ในพระราชบัญญัติของมหาวิทยาลัย และประกาศในราชกิจจานุเบกษา นับเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งที่ 22 ของประเทศไทย และเริ่มย้ายการเรียนดการสอนบางหน่วยงานไปยังสถานที่แห่งใหม่ที่ ต.ขามเรียง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม บนเนื้อที่ประมาณ 1,300 ไร่ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการบริหารการทั้งระดับปริญญาตรี โท และเอกในขณะนี้



                 มหาวิทยาลัยมหาสารคามนับเป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูงแห่งหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย มีนโยบายกระจายโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาอย่างกว้างขวางและทั่วถึง เพื่อตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นและภูมิภาค โดยจัดตั้งหน่วยงานต่างๆ ที่เป็นวิทยาเขตและศูนย์บริการเขตพื้นที่ต่างจังหวัดอีกหลายแห่ง ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหาสารคามมีอายุ 14 ปี หากนับตั้งแต่การก่อตั้งในฐานะมหาวิทยาลัยอันเป็นเอกเทศแห่งนี้ แต่หากนับรวมตั้งแต่แรกเริ่มสถานการศึกษาแห่งนี้ถูกจัดตั้งมาตั้งแต่ปี 2511 จึงมีอายุ 40 ปีแล้วมี 2 วิทยาเขตการศึกษา คือที่อำเภอเมือง (เรียกว่า ม.เก่า) และอำเภอกันทรวิชัย (เรียกว่า ม.ใหม่)




            ตราสัญลักษณ์ของสถาบันคือ "ตราโรจนากร" หมายถึง สัญลักษณ์แห่งความเจริญรุ่งเรือง มีองค์ประกอบเป็นรูปใบเสมา ซึ่งหมายถึง ภูมิปัญญา ภายในมีภาพสัญลักษณ์ขององค์พระธาตุนาดูน หมายถึง คุณธรรมความดี ด้านล่างเป็นสุริยรังสี หมายถึงความเจริญรุ่งเรือง ที่แผ่ขึ้นจากผ้าลายขิด ซึ่งหมายถึง ภูมิปัญญาและมรดกทางวัฒนธรรมแห่งอีสาน และทั้งหมดนี้อยู่เหนือคำขวัญภาษาบาลีว่า "พหูนํ ปณฺฑิโต ชีเว" หมายความว่า "ผู้มีปัญญาพึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน" และหากรวมความหมายทั้งหมดแล้วก็คือ ความเจริญรุ่งเรืองอันเป็นผลจากความรู้และคุณธรรม ผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่น

สีประจำสถาบันได้แก่ "สีเหลือง-เทา" โดยสีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง ความดีงาม ความอุดมสมบูรณ์ สีเทา หมายถึง ความคิด ปัญญา ดังนั้นความหมายโดยรวมคือ ความเจริญรุ่งเรืองอันเกิดจากปัญญาและความดีงาม และต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย ได้แก่ "ต้นราชพฤกษ์" หรือ "ต้นคูน"


 
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
ภาษาไทย
ภาษาเพื่อการสร้างสรรค์งานสื่อสิ่งพิมพ์
ภาษาอังกฤษ
ภาษาจีน
ภาษาญี่ปุ่น
ภาษาลาว
ภาษาเกาหลี
ภาษาฝรั่งเศส
ภาษาเวียดนาม
ภาษาเขมร
ประวัติศาสตร์
ศาสนาและปรัชญา
การพัฒนาชุมชน
International Programmes
Thai as a Foreign Language
English for International Communication
 
คณะการบัญชีและการจัดการ
หลักสูตรบัญชีบัณฑิต
บัญชี (ปกติ และต่อเนื่อง)
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต
การตลาด (ปกติ และต่อเนื่อง)
การจัดการ (ปกติ และต่อเนื่อง)
คอมพิวเตอร์ธุรกิจ (ปกติ และต่อเนื่อง)
การบริหารการเงิน
เทคโนโลยีสารสนเทศธุรกิจ
การจัดการการประกอบการ
การจัดการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
การจัดการทรัพยากรมนุษย์
หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต
เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
International Programme
International Business


 
คณะวิทยาศาสตร์
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
ฟิสิกส์
ชีววิทยา
เคมี
สถิติ
ฟิสิกส์ประยุกต์
คณิตศาสตร์
จุลชีววิทยา



 
คณะศึกษาศาสตร์
หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต
วิทยาศาสตร์ทั่วไป (5 ปี)
คณิตศาสตร์ (5 ปี)
สังคมศึกษา (5 ปี)
ภาษาอังกฤษ (5 ปี)
ภาษาไทย (5 ปี)
การศึกษาปฐมวัย (5 ปี)
การศึกษาพิเศษ (5 ปี)
เทคโนโลยีและการสื่อสารการศึกษา
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
จิตวิทยา
วิทยาศาสตร์การกีฬา
คณะเทคโนโลยี
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
เทคโนโลยีการอาหารและโภชนาการ
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีการผลิตพืช
พัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
นวัตกรรมภูมิทัศน์และการจัดการ
 

คณะวิศวกรรมศาสตร์
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
วิศวกรรมศาสตร์
วิศวกรรมชีวภาพ
วิศวกรรมโยธา (วิศวกรรมชนบท) (เทียบเข้า)
วิศวกรรมเครื่องกล (พลังงาน) (เทียบเข้า)
วิศวกรรมการผลิต
เทคโนโลยีการจัดการ
 
คณะพยาบาลศาสตร์
หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต
พยาบาลศาสตร์ (ปกติ และต่อเนื่อง 2 ปี)
 
คณะเภสัชศาสตร์
หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต
บริบาลเภสัชกรรม (6 ปี)
 
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
ผังเมืองและนฤมิตศิลป์

หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต
สถาปัตยกรรม (5 ปี)
สถาปัตยกรรมเมืองและชุมชน (5 ปี)
สถาปัตยกรรมภายใน (5 ปี)
หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต
นฤมิตรศิลป์

 
คณะวิทยาการสารสนเทศ
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
สารสนเทศศาสตร์
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ปกติ และต่อเนื่อง 2 ปี)
สื่อนฤมิต (ปกติ และต่อเนื่อง 2 ปี)
วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์
ภูมิสารสนเทศ
หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต
การสื่อสารมวลชน
คณะศิลปกรรมศาสตร์
หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต
ทัศนศิลป์
ศิลปะการแสดง
คณะสาธารณสุขศาสตร์
หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต
สาธารณสุขศาสตร์ (ปกติ และเทียบเข้า)
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
โภชนาการและการจัดการความปลอดภัยในอาหาร (ปกติ และต่อเนื่อง)

คณะแพทยศาสตร์
หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต
แพทยศาสตร์ (6 ปี)
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
การแพทย์แผนไทยประยุกต์

คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
การท่องเที่ยวและการโรงแรม
International Programme
Tourism and Hotel Management
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
การจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์
สิ่งแวดล้อมศึกษา
 

วิทยาลัยการเมืองการปกครอง
หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต
การเมืองการปกครอง
บริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต
นิติศาสตร์
 

คณะสัตวแพทยศาสตร์
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
สัตวศาสตร์

วิทยาลัยดุริยางคศิลป์
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
ดุริยางคศิลป์




       ​สำหรับชีวิตนักศึกษา  จังหวัดมหาสารคามได้ชื่อว่าเป็น "สะดือของอีสาน" เพราะอยู่ตรงใจกลางภูมิภาคพอดี เป็นจังหวัดเล็กๆ เงียบๆ ไม่ใช่เมืองศูนย์กลางธุรกิจ หรือศูนย์กลางการท่องเที่ยว แต่ก็เต็มไปด้วยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ เหมาะสำหรับนักศึกษาที่ต้องการหาความรู้ทางมานุษยวิทยานอกเวลาเรียน ที่กันทรวิชัย ตัวมหาวิทยาลัยมีชุมชนหมู่บ้าน 2 แห่งขนาบรอบ คือ บ้านขามเรียง และท่าขอนยาง มีถนนหลวงตัดผ่าน

เพื่อให้นิสิตของมหาวิทยาลัยได้พักในหอพักที่ได้มาตรฐานและปลอดภัยสำหรับการเข้าพัก จึงได้มีกฎระเบียบว่านิสิตชั้นปีที่ 1 และ 2 ต้องพักในหอพักของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม หรือหอพักเครือข่ายภายใต้กำกับดูแลของมหาวิทยาลัยเท่านั้น และในช่วงว่างจากการเรียน นักศึกษานิยมรวมตัวกันที่หอพักเพื่อจับกลุ่มกันอ่านหนังสือ ทบทวนความรู้ หรือทำรายงาน ตอนเย็นนักศึกษาชายจะนิยมเล่นฟุตบอล บาสเก็ตบอล แบดมินตัน เทนนิส และที่นิยมกันมากคือ หมากกระดาน จะเล่นกันตามร่มไม้หรือใต้อาคารเรียน หรือไม่ก็เล่นอินเทอร์เน็ตกัน แต่ก็มีหลายคนที่เลือกที่จะไปเดินเที่ยวตลาดนัดเปิดท้ายขายของในเมือง ซึ่งเปิดประมาณ 5 โมงเย็นถึง 5 ทุ่ม ทุกวันศุกร์-เสาร์

การรับน้องที่นี่จะเป็นการเชียร์กลางและเชียร์คณะ และยังมีการรวมตัวกันเพื่อเล่นกีฬาราชพฤกษ์ ซึ่งแต่ละคณะจะส่งตัวแทนมาแข่งกีฬากัน นอกจากนั้นก็ยังมีงานลอยกระทงที่นับเป็นงานใหญ่ประจำปี มีการออกร้าน บรรยากาศคล้ายงานวัด นักศึกษานิยมมาเที่ยวในตัวมหาวิทยาลัยเพราะมีสระน้ำให้ลอยกระทงถึง 3 แห่ง......
 
 
รายงานโดย
P'BIFERN  ALIST ACADEMY

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้