EN KKU guideline

EN KKU guideline



              สวัสดีค้าาาา น้องๆ....วันนี้พี่เฟิร์นก็มีบทความพิเศษๆนะคะ เนื่องจากว่ามีน้องๆหลายคนเนี่ย ถามพี่เฟิร์นกันเข้ามาเยอะแยะเหลือเกิน เกี่ยวกับคณะที่จะเข้าศึกษาต่อ ต้องเตรียมตัวยังไง? เรียนแบบไหน? จบไปทำอะไร? ใช้คะแนนเท่าไหร่?..ประหนึ่งว่าพี่เฟิร์นจะได้เปลี่ยนตำแหน่งเป็นคุณครูแนะแนวประจำโรงเรียนเอลิสท์อะคาเดมี่ซะเอง 55 ......ซึ่งแน่นอนเลยคjะว่า คณะที่ถูกถามกันเข้ามามากเป็นอันดับต้นๆ ก็คงจะหนีไม่พ้นคณะอะไรไปไม่ได้ นอกจาก " คณะวิศวกรรมศาสตร์ " นั่นเองง แหมม เห็นรุ่นพี่หนุ่มสาวใส่เสื้อชอป ห้อยเกียร์ เท่กันซะขนาดนี่ ใครๆจะไม่อยากเรียนละคะคุณขา และคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่พี่เฟิร์นจะหยิบยกมาบอกเล่าเก้าสิบให้น้องๆฟังวันนี้ ก็ไม่ใช่ที่มหาลัยไหนหรอกค่ะ .....มหาวิทยาลัยขอนแก่น อันดับ 1 แห่งแดนอีสาน บ้านเรานี่เอง...ตามมาดูกันเลยค้าา ;)


 พูดถึงความเป็นมาซักเล็กน้อย..
          คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์แห่งแรกที่จัดตั้งขึ้นในส่วนภูมิภาค โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตวิศวกรที่มีทักษะและมีความรู้ที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาภาคอีสาน ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีเนื้อที่และประชากรประมาณหนึ่งในสามของประเทศ แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาน้อยที่สุด คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงได้ถือก่อตั้งและเริ่มรับนักศึกษารุ่นแรกเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2507 มีสีประจำคณะคือ "สีเลือดหมู" และมีสัญลักษณ์ประจำคณะคือ "เกียร์" นั่นเองค่ะ


 ระยะเวลาศึกษา...
หลักสูตรปริญญาตรี (4 ปี) ให้มีจำนวนหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า 120 หน่วยกิต และไม่เกิน 150 หน่วยกิต โดยกำหนดให้นักศึกษาหลักสูตรที่เรียนเต็มเวลา ใช้เวลาศึกษาทั้งสิ้นไม่เกิน 8 ปีการศึกษา และหลักสูตรที่เรียนนอกเวลา ใช้เวลาศึกษาทั้งสิ้นไม่เกิน 12 ปีการศึกษา


 รับสมัครโดยผ่านมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ADMISSION)
 โดยวิธีรับตรง และวิธีสมัครผ่าน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
ซึ่งจะรับสมัคร 5 สาขาวิชา ประกอบด้วย
         (1) สาขาวิชาวิศวกรรมทั่วไป ซึ่งนักศึกษาจะต้องเลือกเรียนสาขาเฉพาะเมื่อขึ้นปีการศึกษาที่สอง
               ในสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมอุตสาหการ หรือวิศวกรรมเคมี
         (2) สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร
         (3) สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
         (4) สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
         (5) สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา

 และยังมีวิธีรับตรง ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ , มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และวิธีพิเศษอีก 5 โครงการ น้องๆสามารถเข้าไปดูเพิ่มเติมได้ที่นี่จ้าา  >> คลิกที่นี่ 



 แต่ละสาขาวิชาที่เปิดรับ เค้าเรียนอะไรกันบ้าง? และจบไปทำงานอะไร?

1. สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา(Civil Engineering) ศึกษาด้านวิศวกรรมโยธา  เช่นการวิเคราะห์โครงสร้างต่างๆ  ควบคุมการก่อสร้าง  งานตรวจสอบคุณภาพ  การพัฒนาวัสดุก่อสร้าง การวิเคราะห์ทางธรณีและชลศาสตร์  การสำรวจพื้นที่ต่างๆ  ร่วมไปถึงการบริหารจัดการก่อสร้าง โดยใช้ทรัพยากรและวัสดุให้เกิดประโยชน์สูงสุด
   อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา วิศวกรโยธาก่อสร้างตึก เขื่อน  วิศวกรสำรวจ วิศวกรด้านโครงสร้าง  วิศวกรด้านควบคุมและออกแบบระบบจราจร  วิศวกรภาคอุตสาหกรรมเช่น ปูนซีเมนต์ ไม้ฝาบ้าน
 
2. สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (Electrical Engineering) ศึกษาเรื่องการด้านไฟฟ้ากำลังแขนงต่างๆ เช่น การวิเคราะห์และออกแบบการผลิต ระบบจำหน่ายไฟฟ้า ไปยังพื้นที่ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  และยังต้องศึกษาในด้าน วิศวกรรมไฟฟ้าแรงสูง การเขียนโปรแกรม ระบบควบคุม อิเล็กทรอนิกซ์ ระบบขับเคลื่อนไฟฟ้า  รวมทั้งศึกษาระบบไฟฟ้าการประมาณราคา
  อาขีพหลังสำเร็จการศึกษา วิศวกรการไฟฟ้าฝ่ายผลิต  วิศวกรซ่อมบำรุง วิศวกรรมออกแบบระบบ วิศวกรวิเคราะห์วิจัยและพัฒนาด้านพลังงานเป็นต้น   
 
3. สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร (Agricultural Engineering) ศึกษาทักษะความรู้ด้านวิศวกรรมเครื่องกลโดยใช้ความรู้ด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมการเกษตร ออกแบบและควบคุมกระบวนการผลิตภัณฑ์ของอุตสาหกรรมการเกษตร  การเตรียมเนื้อที่ การเก็บเกี่ยว  การใช้เครื่องมือเครื่องใช้ด้านการเกษตร  ผลิตอุปกรณ์ใหม่ๆทางเกษตร
   อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา วิศวกรควบคุมการผลิต ผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตร  การแปรรูปสินค้าทางเกษตร  ระบบชลประทาน  โดยสาขานี้สามารถสอบใบ กว(ใบประกอบวิชาชีพวิศวกร) ในสาขาเครื่องกลได้
 
4. สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ (Industrial Engineering) ศึกษาด้านการจัดการ  การออกแบบ  และการควบคุมเครื่องจักรกลในกระบวนการผลิตสมัยใหม่  ช่วยให้องค์กรได้ประโยชน์สูงสุด การเพิ่มผลผลิตสูงสุด  เพิ่มกำไรและประสิทธิการในการทำงาน โดยใช้ความรู้ด้านวิศวกรรมด้านต่างๆมาบริหารโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่
 อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา  สามารถทำงานในภาครัฐและเอกชน เป็นวิศวกรอุตสาหการเพื่อออกแบบอุตสาหกรรม กระบวนการผลิต การบริหารให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยทำงานในหน่วยงานราชการ  อุตสาหกรรมเครื่องจักรกล  อุตสาหกรรมปิโตรเคมี  ไฟฟ้า  โทรคมนาคม  เป็นต้น
 
5. สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล (Mechanical Engineering) ศึกษาโดยการใช้ความรู้ด้าน ฟิสิกส์  เคมี  ฟิสิกส์ มาประยุกต์ใช้งานด้านกลศาสตร์  การออกแบบเครื่องจักรกล  ระบบไฮดรอลิกซ์ รากฐานหุ่นยนต์ พลศาสตร์การบิน การควบคุมการผลิตเครื่องจักรกล  การออกแบบบำรุงรักษาเครื่องจักรกลในโรงงานอุตสาหกรรม
   อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา วิศวกรเครื่องกล ในการออกแบบเครื่องจักรกล  ระบบความร้อน  วิศวกรในโรงไฟฟ้า  โรงกลั่นน้ำมัน  วิศวกรยานยนต์  วิศวกรด้านการบิน วิศวกรด้านหุ่นยนต์และระบบควมคุมอัตโนมัติ 
 
6. สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (Enviromental Engineering) ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบ ระบบบำบัดน้ำเสีย โดยใช้ความรู้จากวิศวกรรมโยธา  เคมี และชีววิทยา มาประยุกต์ใช้  การศึกษาระบบน้ำทิ้งของโรงงาน  น้ำบริโภค  การนำน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่  การใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด มลพิษทางอากาศ มลพิศทางดินและน้ำ  ตลอดจน กากของสารอันตรายที่ออกมาจากโรงงานอุตสาหกรรม
  อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา วิศวกรการประปา  วิศวกรสิ่งแวดล้อมให้คำปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมแก่โรงงานอุตสาหกรรม  กรมอนามัย  กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงสาธารณสุข 
 
7. สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี (Chemical Engineering) ศึกษาด้านการออกแบบและควบคุมกระบวนการผลิตด้านอุตสาหกรรมเคมี  รวมทั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี  กระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้านเคมี  โดยจะต้องศึกษาทั้งด้านวิศวกรรมเครื่องกล และวิทยาศาสตร์เคมี  มาประยุกต์ด้วยกัน
  อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา วิศวกรเคมี ตามโรงงานต่างๆเช่น โรงงานน้ำมัน  ปิโตรเคมี  พลังงาน  สิ่งแวดล้อม  ยาและอาหาร  วิศวกรควบคุมและวางแผนการผลิต  วิศวกรออกแบบอุปกรณ์และเครื่องมือด้านเคมีภัณฑ์
 
8. สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Engineering) ศึกษาระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งด้าน ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องเช่น Network การออกแบบระบบฝังตัวสมองกล  มัลติมีเดีย  การเขียนโปรแกรมแบบขนานและกระจาย รวมทั้งการออกแบบเครือข่าย วิเคราะห์สัญญาณ
  อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา วิศวกรออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์ด้านคอมพิวเตอร์  วิศวกรซอฟต์แวร์  ผู้ดูแลระบบให้กับองค์กรต่างๆ  นักออกแบบมัลติมีเดีย ที่ปรึกษาบริษัทต่างๆด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ


  มองตัวเองว่าเราเหมาะจะเรียนวิศวะไหม? 
  - การเรียนวิศวะใช้คณิตศาสตร์ค่อนข้างเยอะ ต้องมีความสามารถทางการคำนวณ
  - มีความรู้ค่อนข้างดีใน วิชาฟิสิกส์ เคมี นั่นคือต้องรักในวิชาวิทยาศาตร์
  - ตำราเรียนส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ ดังนั้นต้องอ่านภาษาอังกฤษได้
  - ต้องชอบเรื่องใหม่ๆ เพราะศาสตร์ทางวิศวกรรมเป็นเรื่องของการคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ
  - มีทัศนคติในเรื่องของการแก้ปัญหา คิดเป็นทำเป็น กระตือรือร้น
  ถ้าน้องๆไม่ค่อยตรง ต้องลองถามตัวเองแล้วล่ะค่ะ ว่าเราอยากเรียนวิศวะจริงๆไหม? หรือตามเพื่อนเฉยๆ?


 ถ้าจะสอบรับตรงวิศวะ มข. เตรียมเรื่องไหน อ่านอะไรบ้างอ่ะ ?
      ถ้าน้องๆอยากจะเข้าวิศวะ ม.ขอนแก่น จริงๆนะคะ พี่เฟิร์นอยากให้ไฟว์เอารับตรงให้ได้ เพราะคู่แข่งเราอยู่แค่ในภาคอีสาน ซึ่งสิ่งที่น้องๆต้องเตรียมหลักๆเลยสำหรับ #DEK59 ปีนี้ ม.ขอนแก่น จะเปิดสมัครสอบรอบรับตรง ปี 2559 ในวันที่ 1-7 ตุลาคม 58 นี้นะคะ ห้ามลืมสมัครเด็ดขาด! ...ดูปฎิทินรับสมัครกับกำหนดการสอบกลุ่มสาระวิชาหลัก >> คลิกดูได้ที่นี่ค่ะ  ส่วนน้องๆม.4-5 ก็เตรียมตัวรอไปก่อนนะจ๊ะ...มาดูกันเลย สิ่งที่น้องๆต้องเตรียมตัวให้ดีนั่นคือ...

    1. การสอบกลุ่มสาระวิชาหลัก (มข.จัดสอบ)  รวมทั้งหมด 75%
        - ภาษาไทย                      25%    *ไม่นำมาคิดคะแนนกับกลุ่มสาระวิชาหลัก
        - สังคม                             25%    *ไม่นำมาคิดคะแนนกับกลุ่มสาระวิชาหลัก
        - ภาษาอังกฤษ                 20%
        - คณิตศาสตร์(วิทย์)         20%
        - เคมี                                15%
        - ฟิสิกส์                            20%
        

    2. PAT3  ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์  คิดเป็น 20%
        ซึ่งเนื้อหาที่น้องๆควรจะอัดให้แน่น พี่เฟิร์นสรุปมาตามนี้นะคะ ยังไงก็ตามน้องๆควรไปศึกษาเพิ่มเติมอีกที
        1. Part ฟิสิกส์ : กลศาสตร์ ไฟฟ้า ของแข็งของเหลวและก๊าซ งานและพลังงาน สมบัติคลื่นทั่วไป
        2. Part เคมี : ปริมาณสาร กรดเบส พันธะเคมี สมบัติสาร เคมีอินทรีย์และผลิตภัณฑ์จากปิโตรเคมี
        3. Part คณิตศาตร์ : แคลคูลัส อนุกรม สถิติ
        4. Part ความถนัดทางวิศวกรรม  เป็นพาร์ทที่น้องๆ ควรไปดูมาก่อน เพราะมันไม่มีสอนในห้องเรียน
          จะมีการดูรูปทรง แล้วตอบว่ารูปแต่ละด้านเป็นยังไง และมีการถามถึงเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในวิศวะ
          หรือรวมไปถึงการถามสาขาต่างๆ ในวิศวะเลยก็ได้ ส่วนภาพด้านล่างเป็นสรุปเนื้อหาที่ออกสอบใน PAT3
          ปี 2558 ค่ะ

           


     * ตารางการสอบ GAT/PAT ครั้งที่1และครั้งที่2 นั้น DEK59 เข้าไปดูเพิ่มเติมได้ที่นี่ค่ะ >> คลิกที่นี่
        ม.4-5 ก็เตรียมตัวรอไปก่อนเนอะ ปล่อยให้พี่ม.6 เค้าเครียดก่อนละกัน 555
    ** พี่เฟิร์นมีข้อสอบเก่า PAT3 ตั้งแต่ปี 52-54 ไว้นะคะ จงไปโหลดมาฝึกทำโดยพลัน >> คลิกที่นี่ 
       
  ส่วนของปี 55-56 รออัพเดทได้ทางเว็บไซต์จ้าา


    3. สุดท้ายยย ท้ายสุด มันก็คือ GPAX ผลการเรียนเฉลี่ย 5 เทอม  คิดเป็น 5%
       
พาร์ทนี้พี่เฟิร์นแนะนำได้แค่ว่า เก็บแต้มมาดีๆนะคุณขาา อย่าชะล่าใจเพราะเห็นว่าแค่ 5%  คนที่บอกว่า "แค่ 5%" นี่แหล่ะค่ะ เห็นตกม้าตายมากเยอะแล้ว เพราะฉะนั้น ตั้งใจเรียน ส่งงานให้ครบ ทำเกรดให้ได้สวยๆ อนาคตดีแน่นอน ;)

          ส่วนนี่เป็นเกณฑ์การคัดเลือกและค่าน้ำหนักผ่านรับตรงของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ขอนแก่น  ปี58/59 ค่ะ
จะเห็นว่าเกณฑ์การรับยังเหมือนเดิม คิดว่าในปีหน้าต่อให้มีการเปลี่ยนแปลง ก็อาจจะเปลี่ยนไม่มาก และสำหรับน้องๆ ที่ยื่นจะคะแนนในรอบ ADMISSION ที่สำคัญอีกเรื่องนึงเลยค่ะ ว่า ม.ขอนแก่น จะมีการนำเอา 9 วิชาสามัญ มาใช้คัดเลือกในระบบ Admission ยังไงก็ติดตามข่าวกันต่อไปนะคะ อย่าลืมเตรียมตัวกันให้ดีๆ ^^
 

        และสำหรับน้องๆที่อยากเข้าศึกษาต่อที่ ม.ขอนแก่น นะคะ พี่เฟิร์นแนะนำอีก 1โครงการที่เป็นตัวช่วยใช้เด็กค่ายของเรา กว่า 70% ติดโควต้าม.ขอนแก่น นั้นก็คือ ค่ายวิชาการตุลาฯ เตรียมความพร้อมเพื่อพิชิตโควตา มข. ที่เราจะติวอัดแน่นทุกกลุ่มสาระวิชาหลัก และ GAT/PAT กันแบบเข้มข้นกันถึง 1 เดือนเลยทีเดียว ถ้าสนใจสามารถดูรายละเอียดและสมัครเรียนออนไลน์ได้ที่หน้าเว็บไซต์เลยนะคะ....สำหรับวันนี้พี่เฟิร์นก็ขอลาไปก่อน บ๊ายบายค่ะ ^^
 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้